การใช้งานชุดเครื่องมือ Principal
การเลือกส่วนประกอบต่าง ๆ หรือการตกแต่งเพิ่มลวดลายให้ชิ้นงานเป็นพื้นฐานสำคัญในการเริ่มต้นใช้งาน SketchUp หากผู้ใช้ใช้เครื่องมือชุดนี้ชำนาญแล้ว จะทำให้การทำงานสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ทำความเข้าใจกับวัตถุและโมเดล
ใน SketchUp วัตถุหรือโมเดล 3 มิติ จะถูกสร้างขึ้นมาจาก เส้นขอบ และ พื้นผิว โดยหลังจากสร้างสำเร็จเป็นชิ้นงานแล้วจะถูกเรียกว่า Geometry ดังภาพที่ 5.74 - 5.76
ภาพที่ 5.74 วาดเส้นขอบ หรือ Edge |
ภาพที่ 5.75 เส้นปิดจะเกิดพื้นผิวหรือ Face |
ภาพที่ 5.76 จาก Face ตกแต่งด้วยคำสั่งต่าง ๆ จนเกิดเป็น รูปทรง 3 มิติหรือ Geometry |
การทำงานใน SketchUp ผู้ใช้งานต้องทำงานกับสองส่วนประกอบนี้ ด้วยการใช้เครื่องมือและคำสั่งต่าง ๆ ตกแต่งจนเป็นโมเดล 3 มิติ ดังนั้น เครื่องมือพื้นฐานในการทำงานกับส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น การเลือกหรือการแก้ไข จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกันไว้ก่อน โดยเริ่มจากเครื่องมือในกลุ่ม Principal ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือพื้นฐานที่สุดในการทำงาน
การใช้เครื่องมือ Principal ทำงานกับวัตถุ
เครื่องมือกลุ่ม Principal เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ครอบคลุมการทำงานกับวัตถุทั้งหมดใน SketchUp เช่น การเลือกส่วนประกอบไปจนถึงการเติมลวดลาย
ปกติแล้วเครื่องมือกลุ่มนี้จะปรากฏที่แถบเครื่องมือมาตรฐานของโปรแกรม หรืออยู่ในกล่องเครื่องมือด้านข้าง เมื่อเราเตรียมชุดเครื่องมือ Large Tool Set เอาไว้ หากจะเรียกใช้เครื่องมือชุดนี้เดี่ยว ๆ ก็สามารถเรียกได้จาก View > Toolbars > Principal
การเลือกส่วนประกอบที่ต้องการด้วย Select
Select เป็นเครื่องมือสำหรับเลือกส่วนประกอบต่าง ๆ หรือเลือกวัตถุทั้งชิ้นเพื่อไปทำงานต่อ ถือเป็นเครื่องมือ
พื้นฐาน ที่หลังจากเลือกใช้งานแล้ว ยังมีวิธีการทำงานได้หลากหลาย เช่น เมื่อคลิกหนึ่งครั้งจะเป็นการเลือกปกติ แต่เมื่อ Double Click โปรแกรมจะเป็นการเลือกส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ติดกันมาด้วย
Key board Short cut ของกลุ่มเครื่องมือ Principal
Select กดปุ่ม Space Bar | |
Eraser กดปุ่ม E | |
Make Component กดปุ่ม G | |
Paint Bucket กดปุ่ม B |
1. เปลี่ยนมุมมองจนเห็นส่วนที่ต้องการเลือก
ภาพที่ 5.77 มุมมองของโมเดลที่ต้องการ |
2. คลิกเลือกที่เครื่องมือ select
ภาพที่ 5.78 เครื่องมือ Select |
3. การเลือกด้วยการคลิกที่พื้นผิวหนึ่งครั้ง
4. พื้นผิวส่วนที่ถูกคลิกเลือกจะเป็นลายแรเงาสีน้ำเงิน (แรเงาเป็นเส้นประ)
ภาพที่ 5.79 พื้นที่ผิวที่ถูกเลือกจะเป็นลายแรเงา |
5. การเลือกด้วยการ Double Click ที่พื้นผิวอื่น
6. พื้นผิว และเส้นที่อยู่รอบ ๆ จะถูกเลือก
ภาพที่ 5.80 บนพื้นผิวและเส้นขอบของพื้นผิวที่ถูกเลือก |
7. Tripple Click พื้นผิวของชิ้นงานตรงบริเวณอื่น
8. ส่วนประกอบทั้งหมดของ โมเดล ถูกเลือก
ภาพที่ 5.81 ผลของการ Tripple Click |
9. การคลิกบริเวณพื้นที่ว่าง ๆ ในหน้าต่างการทำงาน โปรแกรมจะยกเลิกส่วนประกอบที่เลือกไว้ทั้งหมด
การเลือกส่วนประกอบ หรือ วัตถุด้วยการ Drag Mouse
การ Drag Mouse เพื่อเลือกวัตถุ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ หลาย ๆ ชิ้นพร้อมกัน จะเกี่ยวข้องกับทิศทางในการ Drag ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เลือกใช้เครื่องมือ Select
2. Drag Mouse จากซ้ายไปขวา (บนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบนก็ให้ผลเหมือนกัน)
ภาพที่ 5.82 ผลของการ Drag Mouse จากซ้ายไปขวา |
3. ส่วนประกอบที่อยู่ในกรอบทั้งชิ้นจะถูกเลือก ส่วนอื่น ๆ ที่กรอบลากผ่านแต่อยู่ในกรอบไม่ครบทั้งชิ้นจะไม่ถูกเลือก
4. การ Drag Mouse จาก ขวาไปซ้าย ส่วนประกอบที่กรอบลากผ่านจะถูกเลือกทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในกรอบครบทั้งชิ้นหรือไม่ก็ตาม
ภาพที่ 5.83 ผลของการ Drag Mouse จากขวาไปซ้าย |
นอกจากการเลือกส่วนประกอบด้วยวิธีที่ผ่านมาแล้ว ในการทำงานเราอาจจะต้องการเลือกส่วนประกอบเอาไว้ใช้มากกว่าหนึ่งชิ้นส่วนขึ้นไป การเลือกส่วนประกอบเพิ่มหรือลดจากที่เลือกไว้ ทำได้ดังวิธีต่อไปนี้
- <Ctrl + คลิก> หรือ <Ctrl + แดรกเมาส์> เป็นการเลือกส่วนประกอบเพิ่มจากที่เคยถูกเลือกไว้
- <Ctrl + Shift + คลิก> หรือ <Ctrl+Shift+Drag Mouse> เป็นการยกเลิกส่วนประกอบที่เคยเลือกไว้
- <Shift + คลิก> หรือ <Shift + แดรกเมาส์> เป็นการสลับกันระหว่างการเลือกและไม่เลือกส่วนประกอบ เช่น ถ้าเลือกไว้แล้ว และกด <Ctrl+Shift +คลิก> ส่วนประกอบที่เคยเลือกจะถูกยกเลิก ถ้ายังไม่เลือกและกด <Ctrl+Shift +คลิก> เป็นการเลือก
จัดส่วนประกอบที่เลือกให้เป็นกลุ่มด้วยเครื่องมือ Make Component
Make Component เป็นเครื่องมือสำหรับจัดกลุ่มวัตถุที่เราสร้างให้เป็นชุดเดียวกัน เช่น จัดประตูให้เป็น Component แยกออกจากโมเดลเดิมที่มีอยู่
การจัดส่วนประกอบที่เลือกให้เป็นกลุ่มด้วยเครื่องมือ Make Component มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
1. คลิกที่เครื่องมือ Select
2. เลือกส่วนประกอบที่ต้องการให้ทำงาน
ภาพที่ 5.84 ส่วนประกอบของ Model ที่ต้องการเลือกทำงาน |
3. ส่วนประกอบที่ถูกเลือกจะทำงาน
4. คลิกที่เครื่องมือ Make Component
ภาพ 5.85 เครื่องมือ Make Component |
5.หน้าต่างการกำหนดรายละเอียด Component จะขึ้นมา
ภาพที่ 5.86 หน้าต่างการกำหนดรายละเอียดของ Component |
6. กำหนดชื่อ ส่วนค่าอื่น ๆ ใช้ค่ามาตรฐานของโปรแกรมก่อน แล้วคลิกที่ปุ่ม Create
7. ตอนนี้ส่วนประกอบที่เลือกจะกลายเป็นกลุ่มของวัตถุ กลุ่มหนึ่งเรียบร้อยแล้ว สังเกตได้จากเวลาคลิกเลือกจะมีกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินขึ้นมา
ภาพที่ 5.87 โมเดลทั้ง 2 เป็น Component |
หลังจากที่สร้าง Component เรียบร้อยแล้วหากต้องการแก้ไขส่วนประกอบต่าง ๆ ใน Component เราจะต้อง Double Click บน Component ดังกล่าวเสียก่อนจึงเข้าไปแก้ไขส่วนประกอบอื่น ๆ ได้ และหลังจากที่แก้ไขเสร็จแล้วให้ออกจาก Component ได้ด้วยการคลิกบนพื้นที่ว่าง ๆ หรือ กดปุ่ม
ลบส่วนประกอบที่ไม่ต้องการด้วยเครื่องมือ Eraser
Eraser เป็นเครื่องมือสำหรับการลบเส้น โดยมีวิธีการใช้งานง่าย ๆ คือ คลิกบนเส้นที่ต้องการลบ หรือคลิกค้างไว้แล้วเลื่อนเมาส์ผ่านเส้นที่ต้องการลบไปเรื่อย ๆ จนครบตามที่ต้องการแล้วปล่อย Mouse
- คลิกที่เครื่องมือ Eraser
- คลิกบนเส้นที่ต้องการลบ
ภาพที่ 5.88 การลบเส้นด้วยเครื่องมือ Eraser
- เครื่องมือจะลบเส้นดังกล่าวออกไปและเมื่อเส้นถูกลบ พื้นผิวส่วนนั้นก็จะหายไปด้วย
ภาพที่ 5.89 เส้นและพื้นผิวทั้งสองข้างของเส้นที่ถูกลบจะหายไป
- กดปุ่ม <ctrl+Z> เพื่อกลับมายังขั้นตอนก่อนลบ
- เปลี่ยนมาใช้วิธี Drag Mouse ผ่านจะเป็นสีน้ำเงิน
- หลังจากปล่อยเมาส์ เส้นส่วนที่ Drag เมาส์ผ่านจะถูกลบ
ในกรณีที่เส้นที่ลบเป็นเส้นที่อยู่บนระนาบอื่น เมื่อลบแล้วพื้นผิวจะไม่หายไปด้วย จะหายไปเพียงแต่เส้นอย่างเดียวดังภาพตัวอย่าง
เส้นที่เป็นเส้นประกอบอยู่บนระนาบอื่นแบบนี้ เมื่อ Drag Mouse ผ่านพื้นผิวจะไม่ถูกลบออกไป เพราะพื้นผิวไม่ได้เกิดจากเส้นเหล่านี้ แต่เกิดจากเส้นขอบอื่นๆ ที่อยู่รอบนอก
นอกจากการลบส่วนประกอบตามวิธีที่ผ่านมาแล้ว เรายังสามารถกำหนดรูปแบบการลบส่วนประกอบได้อีก 2 แบบคือ ลบแบบซ่อนเอาไว้ก่อน และลบแต่เส้นขอบเพียงอย่างเดียวแต่พื้นผิวยังเชื่อมต่อกันอยู่ ซึ่งการลบแต่เส้นขอบเพียงอย่างเดียว มักจะใช้ในกรณีที่ต้องการลบเส้นขอบออกไปให้เห็นพื้นผิวเป็นพื้นผิวโค้ง
สามารถซ่อนเส้นขอบทำได้ด้วยการ <Shift+ คลิก> หรือ <Shift+ Drag Mouse> บนเส้นขอบที่ต้องการซ่อน
ภาพที่ 5.90 ขั้นตอนการซ่อนเส้นขอบของชิ้นงาน |
และสามารถลบเส้นขอบให้เห็นพื้นผิวโค้งต่อกัน ทำได้ด้วยการ <Ctrl+คลิก> หรือ <Ctrl+แดรกเมาส์>
เพื่อให้เห็นรายละเอียดของพื้นผิวที่ชัดเจน โดยหลังจากซ่อนเส้นขอบลงบ้างแล้ว เราสามารถเรียกเส้นขอบที่ถูกซ่อนอยู่ให้กลับมาแสดงได้ด้วยการใช้เครื่องมือ Select ดับเบิลคลิก บนพื้นผิวส่วนที่ติดกับเส้นขอบที่ถูกซ่อนไว้ จากนั้น Click ขวาเลือก Unhide เพื่อยกเลิกการซ่อน
เทสีหรือลวดลายด้วยเครื่องมือ Paint Bucket
Paint Bucket เป็นเครื่องมือสำหรับเทสีหรือลวดลายต่าง ๆ ลงบนพื้นผิวของชิ้นงาน นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น ความใสเหมือนกระจก
การเทสีหรือลวดลายด้วยเครื่องมือ Paint Bucket มีวิธีใช้งานดังต่อไปนี้
- คลิกเครื่องมือ Paint Bucket
- หน้าต่าง Material จะปรากฏขึ้นมา
ภาพที่ 5.91 หน้าต่าง Material
- คลิกเลือกชุดของสีหรือลวดลาย
ภาพที่ 5.92 ชุดสีหรือลวดลายแต่ละ Material
- คลิกเลือกสีหรือลวดลายที่ต้องการ
ภาพที่ 5.93 สีที่ถูกเลือกจะมีกรอบสีฟ้าล้อมรอบ
- คลิกเพื่อเทสีหรือลวดลายลงไปบนส่วนประกอบ
ภาพที่ 5.94 พื้นผิวหลังจากคลิกเทสี
- หากต้องการให้พื้นที่ส่วนอื่นมีสีจากชุดสีอื่นก็สามารถเลือกชุดสีและรูปแบบสีใหม่ได้
ในกรณีที่ต้องการเทสีเดียวกันให้กับพื้นผิวหลายๆ ชิ้น ให้ใช้วิธี Drag mouse เลือกพื้นผิวที่ต้องการให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วค่อยคลิกเทสีลงไป จะเทสีลงไปบนพื้นที่ผิวที่เลือกทั้งหมด ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงานได้มาก
นอกจากการคลิกเลือกส่วนประกอบที่ต้องการเทสีหรือลวดลายลงไปทีละชิ้น ในการทำงานกับโมเดลที่มีรายละเอียดสูง ๆ เรายังสามารถเปลี่ยนวิธีเทสีหรือลวดลายเพื่อให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
- <Ctrl+คลิก> จะเป็นการเทสีหรือลวดลายให้พื้นผิวที่อยู่ติดกัน และมีสีหรือลายเดียวกันเปลี่ยนไปด้วยกันทั้งหมด
- <Shift+คลิก> จะเป็นการเทสีหรือลวดลายให้พื้นผิวที่เดิมที่มีสีหรือลายเดียวกันเปลี่ยนไปทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ติดกันหรือไม่ก็ตาม
- <Ctrl+Shift+คลิก> จะเป็นการเทสีหรือลวดลายให้พื้นผิวชิ้นใดชิ้นหนึ่งทั้งชิ้น
- <Alt+คลิก> เมาส์จะเปลี่ยนเป็นหลอดดูดสี สำหรับดูดสีหรือลวดลายที่มีอยู่ในองค์ประกอบต่างๆ มาใช้งาน
เราสามารถแก้ไขสีหรือลวดลายที่ใส่ลงไปได้จากแท็บ Edit เช่น เปลี่ยนสี กำหนดความโปร่งใส หรือกำหนดขนาดของลวดลายต่าง ๆ