การใช้ Group และ Component
การใช้ Group และ Component เป็นการจัดกลุ่มให้ชิ้นส่วนของโมเดลถูกแบ่งออกจากกัน ทำให้สามารถแก้ไขและตกแต่ง รวมทั้งเลือกใช้งานได้สะดวกมากกว่าการสร้างโมเดลไปเรื่อย ๆ ตามปกติ
ทำความเข้าใจกับ Group และ Component
ใน SketchUp ส่วนประกอบที่ถูกสร้างขึ้นและอยู่ติดกันจะถูกมองเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด ส่วนในกรณีที่ต้องการสร้างชิ้นส่วนขึ้นมาเป็นชิ้นงานใหม่ที่แยกกันจากชิ้นงานเดิม เราต้องใช้คำสั่ง Group หรือ Component เพื่อบอกโปรแกรมว่า ชิ้นส่วนที่ถูกแยกออกไปเป็นชิ้นงานใหม่
ข้อแตกต่างระหว่าง Group และ Component
ถึงแม้ว่า Group และ Component จะมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือ จัดส่วนประกอบที่เลือกเป็นกลุ่มใหม่ แต่ Group และ Component มีความแตกต่างในการใช้งานดังต่อไปนี้
- Group จะใช้การจัดกลุ่มส่วนประกอบเพื่อแยกออกไปเป็นชิ้นงานใหม่
- Group ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นเมื่อต้องการ Copy ชิ้นส่วนไปใช้งาน
- Group แต่ละ Group จะเป็นอิสระต่อกันสามารถแก้ไขให้เหมือนกันได้ตามต้องการ
ส่วน Component จะเป็นการจัดกลุ่มที่มีลูกเล่นให้เลือกมากกว่า Group เช่น
- Component แต่ละ Component จะถูก Copy ออกมาจากชิ้นเดียวกันจะมีคุณสมบัติเชื่อมต่อกัน เมื่อแก้ไข Component ใดก็ตาม Component ชิ้นที่ Copy ออกมาจะถูกแก้ไขตามไปด้วย
- Component สามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ เช่น ให้นำไปวางบนพื้นเอียงได้สะดวก หรือให้นำไปใช้ตัดเจาะพื้นผิวได้เมื่อเลื่อนตำแหน่งไปบนส่วนพื้นผิวอยู่
การสร้างและใช้งาน Group
การสร้าง Group สามารถทำได้ดังวิธีการดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องมือ Rectangle วาดรูปลงพื้นผิวที่ต้องการจะทำ Group
ภาพที่ 5.203 รูปสี่เหลี่ยมที่พื้นที่ผิวของโมเดล |
2. ใช้เครื่องมือ Select ดับเบิลคคลิกเลือกพื้นผิวและเส้นขอบ
ภาพที่ 5.204 สี่เหลี่ยมที่สร้างไว้ถูกเลือกโดยการ Double Click |
3. คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Make Group
ภาพที่ 5.205 การคลิกเมาส์ขวาที่พื้นที่สี่เหลี่ยม เลือก Make Group |
4. ส่วนที่เลือกจะถูกสร้างเป็น Group และมีกรอบสีน้ำเงินแสดงขึ้นมา
ภาพที่ 5.206 พื้นที่สี่เหลี่ยมจะมีกรอบสีน้ำเงินแสดงว่าได้ถูกสร้างเป็น Group แล้ว |
หลังจากที่สร้าง Group เรียบร้อยแล้ว เวลาที่เราต้องการแก้ไข Group ที่สร้างขึ้น จะต้องเลือกเข้าไปทำงานกับ Group ดังกล่าวเสียก่อน ดังวิธีการ ต่อไปนี้
1. Double Click บน Group ที่ต้องการ
2. ส่วนอื่น ๆ จะถูก Lock เอาไว้โดยแก้ไขได้เฉพาะ Group ที่เลือก
ภาพที่ 5.207 พื้นที่ส่วนอื่น ๆ ถูก Lock ให้แก้ไขได้เฉพาะ Group |
3. แก้ไขด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
ภาพที่ 5.208 การแก้ไขส่วนที่ Group ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ |
4. เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้คลิกเลือกคำสั่ง Close Group
ภาพที่ 5.209 การคลิก Close Group ภายหลังจากแก้ไขส่วนประกอบเสร็จแล้ว |
5. สามารถ copy กรุ๊ปที่ใช้งานได้ตามวิธีปกติ
วิธีสร้างและใช้งาน Component
สำหรับการสร้างและใช้งาน Component นอกจากจะสร้างขึ้นมาแล้ว หลังจากสร้างเสร็จต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ Component ที่ได้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานมากที่สุด
การสร้างและใช้งาน Component ทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ใช้เครื่องมือ Rectangle สร้างรูปสี่เหลี่ยม
ภาพที่ 5.210 การวาดรูปสี่เหลี่ยมด้วย Rectangle Tool |
2. ใช้เครื่องมือ Select Double Click เลือกพื้นผิวและเส้นขอบ
ภาพที่ 5.211 การ Select พื้นที่สี่เหลี่ยมด้วยการ Double Click |
3. คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Make Component
ภาพที่ 5.212 การคลิกขวาที่สี่เหลี่ยมที่เลือก และเลือก Component |
4. กำหนดชื่อที่ต้องการ
ภาพที่ 5.213 กล่องโต้ตอบให้กำหนดชื่อของ Component |
5. คลิกช่อง Replace Selection with Component ให้ทำงาน เพื่อสั่งให้โปรแกรมสร้าง Component ลงไปแทนส่วนที่เลือกไว้
6. คลิกปุ่ม Create ส่วนที่เลือกจะถูกสร้างเป็น Component และมีกรอบสีน้ำเงินแสดงขึ้นมา
ภาพที่ 5.214 การคลิกปุ่ม Create เพื่อสร้าง Component |
เมื่อต้องการแก้ไข Component ที่สร้างขึ้นให้ใช้วิธีการดังต่อไปนี้
1. Double Click บน Component
2. ส่วนอื่น ๆ จะถูกล็อกเอาไว้เหมือนการแก้ไข Group
ภาพที่ 5.215 ส่วนประกอบอื่น ๆ ถูก Lock ให้แก้ไขได้เฉพาะส่วนของ Component |
3. แก้ไขด้วยเครื่องมือต่าง ๆ
ภาพที่ 5.216 การแก้ไขส่วนที่เป็น Component ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ |
4. เมื่อแก้ไขเสร็จ ให้คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Close Component
ภาพที่ 5.217 การจบการแก้ไข Component ด้วยการคลิกเมาส์ขวา และเลือก Close Component |
5. ใช้เครื่องมือ Move ก็อปปี้ Component เพิ่มขึ้นมา
ภาพที่ 5.218 การ Copy Component ด้วยเครื่องมือ Move |
6. เข้าไปแก้ไขรายละเอียดอีกครั้ง
ภาพที่ 5.219 การแก้ไขรายละเอียดของ Component |
7. Component ที่ Copy ไว้จะถูกแก้ไขตามไปด้วย (รวมไปถึงรายละเอียดของพื้นผิว)
ภาพที่ 5.220 Component ที่ถูก Copy ไปจะแก้ไขตามไปด้วย |
ย้ายแกนและจุดฐาน component
แกนและจุดฐานเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการวาง Component เพราะเมื่อนำมาใช้งาน โปรแกรมจะใช้จุดฐานเป็นตัวกำหนดตำแหน่งในการวาง เช่น ต้นไม้ควรมีจุดฐานอยู่ที่โคนต้น เมื่อนำไปวางต้นไม้จะวางบนพื้นพอดี หากจุดฐานอยู่กึ่งกลางของต้นไม้เมื่อนำต้นไม้ไปวางจะจมดิน โดยการย้ายแกนและจุดฐานในขั้นตอนการสร้างทำได้โดย
1. คลิกขวาบน Component ที่ต้องการย้ายแกนและจุดฐาน แล้วเลือกคำสั่ง Change Axes
2. คลิกวางตำแหน่งจุดฐานลงไปและเลื่อนเมาส์กำหนดแกนต่าง ๆ จนครบ
3.จุดฐานและแกนเปลี่ยนไปตามที่เรากำหนด
Option กำหนดรายละเอียดสำหรับการสร้าง Component
ในไดอะล็อกบ๊อกซ์ Create Component จะมี Options สำหรับกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ อยู่หลายตัว Options สำหรับกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ สำหรับการสร้าง Component มีดังนี้
ภาพที่ 5.221 Option ต่าง ๆ สำหรับกำหนดรายละเอียดในการสร้าง Component |
A. Name และ Description สำหรับกำหนดชื่อและรายละเอียดเพิ่มเติมให้ Component
B. Glue to None ไม่มีการกำหนดระนาบสำหรับวาง Component การวางจะอยู่ในแนวระนาบเสมอ
C. Glue to Any กำหนดให้การวาง Component เปลี่ยนไปตามแนวระนาบของพื้นผิวที่นำไปวาง
D. Glue to Horizontal กำหนดให้ Component ถูกล็อคการวางให้วางได้ในแนวระนาบพื้น
E. Glue to Vertical กำหนดให้ Component ถูกล็อคการวางให้วางได้ในแนวตั้ง
F. Glue to Sloped กำหนดให้ Component ถูกวางได้ในแนวเอียง
G. Cut Opening ใช้ได้เมื่อ Glue to ถูกกำหนดเป็นค่าใดก็ได้ยกเว้น None หากเลือกข้อนี้ไว้และชิ้นส่วนที่เราเลือกมีช่องว่าง เมื่อนำไปวางบนพื้นผิวโปรแกรมจะเจาะพื้นที่ผิวบริเวณที่วางให้ด้วย มักจะใช้กับ Component ที่เป็นประตูหรือหน้าต่าง
H. Always face cameras ใช้ได้เมื่อ Glue to เป็น None เท่านั้น หากเลือกข้อนี้ไว้ ชิ้นงานจะหันหน้าหามุมมองปัจจุบันเสมอ
I. Shadow face sun ใช้ได้เมื่อเลือก Always face camera ไว้เท่านั้น หากเลือกข้อนี้จะทำให้เงาของ Component ไม่เปลี่ยนรูปตามมุมมองที่เปลี่ยน
การแก้ไข Component
Component ที่สร้างหรือเลือกมาใช้งานจะถูกเก็บไว้ในส่วนของ In Model ถ้าต้องการแก้ไข สามารถเข้าไปที่ส่วนดังกล่าวแล้วเลือก Component ที่ต้องการแก้ไข จากนั้นจึงแก้ไขตามหัวข้อการแก้ไข Component เช่น
1. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Components คลิกปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังรูปบ้านแล้วเลือก In model
ภาพที่ 5.222 การเลือกแก้ไข Component ด้วยการคลิกปุ่ม In Model |
2. Component จะแสดงขึ้นมา
3. คลิกเลือก Component ที่ต้องการแก้ไข
ภาพที่ 5.223 การเลือก Component ที่ต้องการแก้ไข |
4. คลิกที่ Tab Edit
ภาพที่ 5.224 Tab Edit |
5. แก้ไขรายละเอียดได้ตามต้องการ
ภาพที่ 5.225 รายละเอียดในแถบ Edit |
การใช้งาน Component สำเร็จรูป
ในการสร้างโมเดล ผู้ใช้งาน SketchUp มักนิยมนำ Component สำเร็จรูปมาใช้งานร่วมกับโมเดลที่สร้าง ซึ่งจะมีโมเดลสำเร็จรูปให้จำนวนหนึ่ง โดยสามารถเลือกและนำมาใช้งานได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.คลิกเมนู Windows > Components
ภาพที่ 5.226 การเปิดหน้าต่าง Component |
2. ใน Dialog Box Components คลิกปุ่มสามเหลี่ยมหลังรูปบ้าน แล้วเลือก Components
ภาพที่ 5.227 การเลือก Component สำเร็จรูปจาก Dialog Box Components |
3. คลิกเลือก Components Sampler
ภาพที่ 5.228 การเลือก Components Sampler |
4. ตัวอย่าง Components ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้จะขึ้นมา
ภาพที่ 5.229 Component ที่โปรแกรม SketchUp เตรียมไว้ให้ |
5. คลิกเลือก Components ที่ต้องการ
ภาพที่ 5.230 การเลือก Component ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ด้วยการ Click Mouse เลือก |
6. เลื่อนเมาส์ Component ที่จะวางแล้วคลิกเพื่อวางลงไป
ภาพที่ 5.231 การวาง Component ที่เลือกลงบนพื้นที่ทำงาน |
7. ย่อ / ขยาย หรือย้ายตำแหน่ง Component ได้ด้วยเครื่องมือปกติ
ภาพที่ 5.232 การย่อ / ขยาย Component ด้วยเครื่องมือใน SketchUp |
8. กดปุ่ม <ESC> เพื่อจบการทำงาน
ถ้าต้องการนำ Component อื่น ๆ มาใช้งาน สามารถทำได้ด้วยวิธีเดียวกันคือ คลิกเลือกและนำมาวาง ส่วนวิธีการแก้ไข Component นอกจากใช้เครื่องมือ Move, Rotate หรือ Scale แล้ว ก็สามารถ Double Click เข้าไปแก้ไข รายละเอียดต่าง ๆ ได้เหมือนการแก้ไข Component ที่สร้างขึ้น
ในการนำ Component มาใช้งาน เราสามารถกลับด้านได้จากการคลิกขวา แล้วเลือกคำสั่งกลับด้านตามแกน
ต่าง ๆ จากชุดคำสั่ง Flip Along ดังภาพ
ภาพที่ 5.233 การกลับด้าน Component (Flip Component) ตามแนวแกนต่าง ๆ |
ภาพที่ 5.234 ตัวอย่างการกลับด้าน Component ในแนวแกน Y |
ถ้าหากว่าผู้ใช้งานต้องการ Component แบบอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถทำได้ง่าย ๆ จากใน SketchUp เพียงแค่ต่อ Internet เอาไว้ให้เรียบร้อย แล้วเข้าไปเลือก Component ที่ต้องการมาใช้งาน ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกปุ่มลูกศรหลังรูปบ้าน แล้วเลือกกลุ่มของ Component ที่ต้องการ
ภาพที่ 5.235 การเลือกกลุ่มของ Component |
2. โปรแกรมจะเชื่อมต่อไปยัง 3D Warehouse
ภาพที่ 5.236 โปรแกรม SketchUp กำลังเชื่อมต่อไปยัง 3D Warehouse |
3. โมเดลในกลุ่มที่เลือกจะปรากฎขึ้นมา ให้คลิกเลือกเพื่อเข้าไปดูโมเดลกลุ่มนี้
ภาพที่ 5.237 ตัวอย่างกลุ่มโมเดล |
4. คลิกเลือกโมเดลที่ต้องการใช้งาน แล้วนำมาวางลงในพื้นที่ทำงานตามต้องการ
ภาพที่ 5.238 การคลิกเลือกโมเดล และนำไปวางในพื้นที่การทำงาน |
หากต้องการบันทึก Component ไว้ใช้งานสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่คลิกขวาบนรูป Component ในหน้าต่าง Component ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเลือกคำสั่ง Save As และกำหนดรายละเอียด ก็จะสามารถบันทึก Component เก็บเอาไว้ใช้งานอื่น ๆ ได้ตามต้องการ
การ Download Component มาเก็บไว้ที่เครื่อง
นอกจากจะเรียก Component จาก 3D Warehouse มาใส่ให้ Model ในขั้นตอนการทำงานแล้ว เรายังสามารถ Download ชุด Component ต่าง ๆ มาเก็บไว้ที่เครื่องได้
ก่อนอื่นให้สร้าง Folder เปล่าสำหรับเก็บ Component ที่ Download มาไว้ โดยตั้งชื่อได้ตามที่ต้องการ จากนั้นจึงเข้าไป Download Component มาเก็บไว้ใช้งานดังวิธีการต่อไปนี้
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ 3D Warehouse (http://sketchup.google.com/3dwarehouse)
ภาพที่ 5.239 เว็บไซต์ 3D Warehouse |
2. คลิกกลุ่มของโมเดลที่ต้องการ Download
3. คลิกปุ่มดาวน์โหลดโมเดล แล้วเลือกเวอร์ชั่นของโปรแกรม
ภาพที่ 5.240 การคลิกปุ่ม download และเลือก Version ของโปรแกรม SketchUp |
4. คลิกปุ่ม ตกลง เพื่อบันทึกไฟล์ตามปกติ
5. กำหนด Folder ที่จะบันทึกให้เป็นโฟลเดอร์ที่เราสร้างไว้ในตอนแรกแล้วคลิกปุ่ม Save
หลังจาก Download เรียบร้อยแล้ว เวลาเราต้องการใช้งานให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกปุ่มลูกศรด้านหลังรูปบ้านแล้วเลือก Component
ภาพที่ 5.241 การเรียกใช้งาน Component ที่ Download ไว้ |
2. โฟลเดอร์ที่เราสร้างไว้จะปรากฏขึ้นมาแล้วคลิกเลือก
3. Component ที่ Download ไว้จะปรากฎขึ้นมา สามารถคลิกเลือกไปใช้งานได้ทันที
ภาพที่ 5.242 แสดง Component ที่ Download เอาไว้ |
การแทนที่ Component ที่ใส่ลงไป
เราสามารถสลับ Component ในงานของเราได้ด้วยการแทนที่ นำ Component ใหม่ที่ต้องการมาแทน Component เดิม ได้จากวิธีการขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกขวาบน Component ที่ต้องการเปลี่ยน แล้วเลือกคำสั่ง Reload
ภาพที่ 5.243 การเปลี่ยนการเรียกใช้ Component ด้วยคำสั่ง Reload |
2. Double Click เลือก Model ที่ต้องการนำมาเปลี่ยน
ภาพที่ 5.244 Component ใหม่ที่ต้องการนำมาเปลี่ยนแทน Component เดิม |
3. โปรแกรมจะนำโมเดลที่เลือกมาแทนที่ Component ทั้งหมด
ภาพที่ 5.245 Component ใหม่ มาแทนที่ Component เดิม |
Dynamic Component
นอกจาก Component แบบปกติที่โปรแกรมเตรียมมาไว้ให้ใช้งานแล้ว ใน SketchUp ยังมี Component อีกแบบหนึ่งที่ยืดหยุ่นต่อการทำงานมากกว่า เช่น สามารถเพิ่มจำนวนได้เมื่อขยายขนาด หรือสามารถโต้ตอบได้กับผู้ใช้งานเมื่อ Click Mouse
Dynamic Component ถือว่าเป็น Plugins ตัวหนึ่งของ SketchUp ที่ไม่ได้ถูกเปิดใช้งานตั้งแต่แรก เราสามารถเปิด Dynamic Components ให้ทำงานได้ด้วยการคลิกที่เมนู Window > Preferences แล้วเลือก Extensions จากนั้นคลิกที่เครื่องหมายถูกหน้า Dynamic Components ให้เริ่มทำงานแล้วคลิกที่ปุ่ม OK
ภาพ 5.246 การคลิกที่เมนู Window > Preferences |
ภาพ 5.247 การกำหนดให้ใช้ Dynamic Component จาก Extensions |
การใช้งาน Dynamic Components ทำได้เหมือนกับการใช้งาน Component ปกติ สำหรับ Dynamic Component โปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ดังภาพ
ภาพ 5.248 สัญลักษณ์แสดงว่าเป็น Dynamic Component |
ขั้นตอนการใช้งาน Dynamic Component
1. คลิกเลือก Dynamic Component รูปรั้วจากตัวอย่าง Component
ภาพที่ 5.249 Dynamic Component ที่เลือกเป็นรูปรั้ว |
2. คลิกวางตำแหน่งลงไป
ภาพที่ 5.250 การวางตำแหน่งของ Component ลงในพื้นที่ทำงาน |
3. การทำงานของ Dynamic Component จะคล้ายกับ Component ปกติ
4. กดปุ่ม <S> เพื่อเรียกคำสั่ง Scale
5. คลิกขยายขนาดออกไปตามที่ต้องการ
6. ถ้าเป็น Component ปกติ เมื่อขยายขนาดแล้วจะเป็นแบบนี้
ภาพที่ 5.251 ลักษณะ Component ปกติ เมื่อขยายจะยืดชิ้นงานออก |
7. ถ้าเป็น Dynamic Component จะขยายรั้วเพิ่มตามความยาวออกไป
ภาพที่ 5.252 ลักษณะ Dynamic Component เมื่อขยายจะเพิ่มจำนวนและยาวออกไป |
Dynamic Component สามารถ Download มาใช้ได้งานเหมือนกับ Component ปกติ ส่วนวิธีการสร้าง Dynamic Component จะซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากต้องใช้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมมาช่วยในการทำงาน ผู้ใช้งานโปรแกรม SketchUp ในระยะเริ่มต้นควรใช้ Dynamic Component แบบสำเร็จรูปจะดีว่า
การทำงานกับ Group และ Component ได้สะดวกขึ้นกับ Outliner
Component เพื่อแก้ไข มีประโยชน์เมื่อทำงานกับโมเดลที่ประกอบไปด้วย Group และ Component จำนวนมาก
เราสามารถเรียกใช้งาน Outliner ได้ด้วยการคลิกที่เมนู Window > Outliner หลังจากนั้น Outliner จะปรากฏขึ้นมาในหน้าต่าง Outliner จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
ภาพ 5.253 ส่วนประกอบของหน้าต่าง Outliner |
A. ช่อง Filter สำหรับกำหนดให้แสดง Group หรือ Component เฉพาะคำค้นหาที่กำหนด
B. สัญลักษณ์รูปบ้านแสดงชื่อไฟล์ที่เราทำงานอยู่
C. รายชื่อ Group และ Component ที่มีอยู่ในโมเดลนี้ทั้งหมด
การใช้งาน Outliner ช่วยในการทำงานจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. คลิกเลือกส่วนที่ต้องการแก้ไขจากรายชื่อ
ภาพที่ 5.254 รายชื่อส่วนประกอบของ Component ที่ต้องการแก้ไข |
2. ส่วนที่ต้องการแก้ไขจะถูกเลือก แบบนี้สะดวกกว่าโดยค่อย ๆ Double Click เข้าไปในตัว Component บนโมเดล
- ย้ายกลุ่ม Group หรือ Component โดยการ Drag Mouse ไปปล่อยในกลุ่มใหม่ที่ต้องการ
- กำหนดชื่อใหม่ให้ Group หรือ Component คลิกขวาบน Component หรือ Group ที่ต้องการแล้วเลือกคำสั่ง Rename
ล็อค Group หรือ Component ไม่ให้แก้ไขได้
1.คลิกขวาบน Component หรือ Group ที่ต้องการแล้วเลือกคำสั่ง Lock เพื่อล็อกไม่ให้แก้ไขได้
2. คลิกขวาบน Component หรือ Group ที่ต้องการปลดล็อคแล้วเลือกคำสั่ง Unlock เพื่อให้แก้ไขได้ตามปกติ
ซ่อนหรือแสดง Component
1. คลิกขวาบน Component หรือ Group ที่ต้องการแล้วเลือกคำสั่ง Hide
2. เรียกกลับมาได้ด้วยการคลิกขวาบนชื่อ แล้วเลือกคำสั่ง Unhide