การถ่ายทอดความคิดเป็นวิธีการ
การถ่ายทอดความคิดที่เป็นวิธีการ เป็นการถ่ายทอดความคิดที่เป็นวิธีการหรือลำดับขั้นตอนที่ไม่เป็นชิ้นงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งการถ่ายทอดความคิดมีหลายรูปแบบ เช่น ภาพร่าง 2 มิติ ภาพร่าง 3 มิติ ผังงาน แบบจำลองความคิด
1. ภาพร่าง 2 มิติ
เป็นภาพที่ถ่ายทอดแนวคิดหรือวิธีการแก้ปัญหาเพียง 2 มิติ ประกอบด้วยด้านกว้างและด้านยาว
ภาพที่ 5.11 ภาพร่าง 2 มิติ |
http://www.ipesk.ac.th |
2. ภาพร่าง 3 มิติ
เป็นภาพที่นำเสนอรายละเอียดของแนวคิดของวิธีการแก้ปัญหาเป็น 3 มิติ ประกอบด้วยด้านกว้าง ด้านยาว และความสูงหรือความลึก
ภาพที่ 5.12 ภาพร่าง 3 มิติ |
ที่มา : http://nilubon120.files.wordpress.com |
3. ผังงาน (Flowchart)
เป็นรูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด เนื่องจากการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจ ตรงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องด้วยคำพูดหรือข้อความทำได้ยาก จึงมีการนำผังงานมาใช้ ซึ่งสัญลักษณ์โดยทั่วไปที่ใช้สำหรับการเขียนผังงานมีดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพที่ 5.13 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน |
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานที่นิยมใช้กันนั้นเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) และองค์การมาตรฐานนานาชาติ (International Standard Organization : ISO) หน่วยงานดังกล่าวทำหน้าที่รวบรวมและกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานที่จะใช้เขียนผังงาน
จากสัญลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาเขียนเป็นผังงานได้ 2 ประเภท ได้แก่
1) ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่แสดงรายละเอียดลงในระบบงานย่อย โดยผังงานจะแสดงทิศทางการทำงานในระบบ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบตั้งแต่เริ่มต้นว่า มีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง เช่น เอกสารเบื้องต้นหรือสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นอะไร และผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปที่หน่วยงานใด ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับคน วัสดุ เครื่องจักร ซึ่งแต่ละจุดประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์ (Input-Process-Output) เช่น ผังงานระบบแสดงขั้นตอน การบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น
ภาพที่ 5.14 ผังงานระบบแสดงขั้นตอนการบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล |
ที่มา : http://www.jvkk.go.th |
2) ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือผังงานที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด
ในโมดูลนั้น ๆโดยจะดึงเอาแต่ละจุดจากผังงานระบบมาเขียนเป็นผังงาน ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการรับข้อมูลเข้า การคำนวณ การประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์ ประโยชน์ของผังงาน เช่น ผังงานโปรแกรม แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบเบิกจ่ายตรง
ภาพที่ 5.15 ผังงานโปรแกรมแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบการเบิกจ่ายตรง |
ที่มา : http://audit.hss.moph.go.th |
4. แบบจำลองความคิด
เป็นการถ่ายทอดความคิดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการสร้างลำดับขั้นตอนความคิดของการทำงานในระบบงานหนึ่ง ๆ ในลักษณะของภาพรวม เพื่อแสดงให้เห็นระบบงาน มีการทำงานหรือวิธีการทำงานอย่างไร ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงสุดท้ายที่ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งแบบจำลองความคิดนั้นจะถูกคัดเลือกมาจากการรวบรวมข้อมูลทางเลือกที่หลากหลายจนได้วิธีการหนึ่ง ๆ ออกมา เพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยแบบจำลองความคิดนั้น อาจนำเสนอในรูปแบบของการร่างภาพ 2 มิติ ภาพร่าง 3 มิติ และแบบจำลอง 3 มิติ ก็ได้ เช่น แบบจำลองลักษณะของแปลงบำบัดน้ำเสียด้วยพืชและหญ้ากรองในโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย
ภาพที่ 5.16 แบบจำลองความคิดที่เป็นภาพร่าง 2 มิติ ลักษณะของแปลงบำบัดน้ำเสียด้วยพืชและหญ้ากรองในโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย |
ที่มา : http://dc463.4shared.com |
มาตราส่วน
ในการนำแบบที่ออกแบบได้ไปสั่งทำชิ้นงาน ต้องใช้การเขียนแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะออกแบบด้วยการเขียนแบบมือ หรือ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในสภาพจริงบางครั้งไม่สามารถใช้ขนาดจริงของวัตถุ หรือชิ้นงานเขียนลงในกระดาษเขียนแบบได้ บางครั้งชิ้นงานเล็กหรือใหญ่กว่ากระดาษเขียนแบบมาก ความเหมาะสมของขนาดงานเขียนแบบต่อชิ้นงานไม่มี ก็ทำให้ผลงานออกมาไม่สวยงาม มีความจำเป็นต้องย่อ หรือขยายภาพจากขนาดจริง โดยมาตราส่วนที่ใช้ในงานเขียนแบบไว้ทั้งหมด 3 แบบดังต่อไปนี้
1. มาตราส่วนจริง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มาตราส่วนเต็ม เป็นการเขียนแบบที่ใช้ขนาดในแบบเท่ากับขนาดที่วัดได้จากชิ้นงานจริง หรือไม่มีการย่อหรือขยาย
2. มาตราส่วนย่อ เช่น 1:2, 1:5, 1:10, 1:20, 1:50, 1:100, 1:200, 1:500 ,1 :1000 ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานจริงมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถเขียนขนาดจริงลงบนกระดาษเขียนแบบที่มี
3. มาตราส่วนขยาย เช่น 2:1, 5:1, 10:1 ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก เมื่อเขียนลงในกระดาษเขียนแบบแล้วมองดูไม่สวยงาม ไม่ได้สัดส่วน
ความหมายของตัวเลขแต่ละตัวในมาตราส่วน
1.ตัวเลขตัวหน้า หมายถึง ขนาดที่ต้องเขียนลงในแบบงาน
2.ตัวเลขหลังเครื่องหมาย :(colon) หมายถึง ขนาดจริงของชิ้นงาน
หน่วยวัด
หน่วยวัดความยาวที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบอังกฤษและระบบเมตริก ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
|